การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของดีเอ็นเออาศัยข้อมูลที่ได้จากแต่ละวิธีศึกษาประกอบกัน ทำให้มองเห็นโครงสร้างและองค์ประกอบของดีเอ็นเอดีขึ้น หลักฐานเหล่านี้ได้แก่
- ภาพถ่ายของดีเอ็นเอ จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ทำให้ทราบว่าโมเลกุลของดีเอ็นเอเป็นสายยาว แต่ไม่สามารถมองเห็นองค์ประกอบทางเคมี
- การวิเคราะห์ดีเอ็นเอทางเคมี มีการศึกษาที่น่าสนใจดังนี้
- A. Kossel และ A.T. Levene ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของกรดนิวคลีอิก พบว่า กรดนิวคลีอิกจากเซลล์สัตว์มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก และมีสมบัติเป็นเบส จึงเรียกว่า นิวคลีโอไทด์เบส (Nucleotide base) หรือ ไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous base) ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างกัซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างกัน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- พิวรีน (Purine) เป็นเบสที่มีโครงสร้างหลักประกอบด้วยวงแหวน 2 วง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ อะดีนีน (Adenine) และกวานีน (Guanine)
- ไพริมิดีน (Pyrimidine) เป็นเบสที่มีโครงสร้างหลักประกอบด้วยวงแหวน 1 วง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ไทมีน (Thymine) และไซโทซีน (Cytosine)
นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) แต่ละนิวคลีโอไทด์เชื่อมต่อกันเป็นสายยาว โดยมีการสร้างพันธะระหว่างหมู่ฟอสเฟตของนิวคลีโอไทด์หนึ่งกับน้ำตาลของนิวคลีโอไทด์อีกหน่วยหนึ่งที่คาร์บอนตำแหน่ง 3’ เกิดเป็นพอลิเมอร์สายยาวเรียกว่า พอลีนิวคลีโอไทด์ (Polynucleotide)
- Erwin Chargaff วิเคราะห์ปริมาณของนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิดในดีเอ็นเอ ทำให้ได้ข้อมูลว่า ดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิตต่างๆ จะมีปริมาณของเบส A = T และ C = G เสมอ เรียกว่า กฎของชาร์กาฟฟ์ (Chargaff’s rules)
- นักเคมีกลุ่มหนึ่งในประเทศอังกฤษ พบว่า นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยสามารถเชื่อมต่อกันให้เป็นสายพอลีนิวคลีโอไทด์ได้ และสายพอลีนิวคลีโอไทด์แต่ละสายจะแตกต่างกันที่จำนวนนิวคลีโอไทด์ และการจัดเรียงลำดับเบส
- ภาพที่เกิดจากการหักเหของรังสีเอกซ์ผ่าน DNA ในระหว่างปี พ.ศ. 2493 – 2495 M.H.F. Wilkins และ Rosalind Franklin นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ศึกษาผลึก DNA บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคการหักเหของรัวสีเอกซ์ หรือ X – ray diffraction พบว่า โครงสร้างของดีเอ็นเอมีลักษณะเป็นเกลียว (Helix) และประกอบด้วยสายพอลีนิวคลีโอไทด์เกินกว่า 1 สายขึ้นไป และเกลียวแต่ละรอบจะมีระยะทางเท่ากัน
- การเสนอโครงสร้างของดีเอ็นเอ โดย James D. Watson และ Francis Crick มีลักษณะสำคัญโดยสรุปดังนี้
- ประกอบด้วยสายพอลีนิวคลีโอไทด์ 2 สาย เรียงสลับทิศทางกัน คือ ปลายข้าง 3’ ของสายหนึ่งจะประกบกับปลายข้าง 5’ ของอีกสายหนึ่ง
- สายพอลีนิวคลีโอไทด์จะบิดเป็นเกลียวคู่ (Double helix) เวียนขวาหรือหมุนตามเข็มนาฬิกา ดูคล้ายบันไดเวียน มีน้ำตาลดีออกซีไรโบสและหมู่ฟอสเฟตเป็นราวบันได และคู่เบสแต่ละคู่เปรียบเสมือนขั้นบันได
- เกลียวแต่ละรอบจะมีจำนวนคู่เบสเท่ากัน ดังนั้นระยะของเกลียวแต่ละรอบจึงเท่ากัน
- เบส G กับเบส C เกาะกันด้วยพันธะไฮโดรเจน 3 แห่ง ส่วนเบส A กับเบส T เกาะกันด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 แห่ง
- ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลีนิวคลีโอไทด์สายคู่ ซึ่งมีความยาวหลายหมื่นคู่เบส การจัดเรียงลำดับเบสที่แตกต่างกันจะทำให้โมเลกุลของดีเอ็นเอมีลักษณะแตกต่างกันมากมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น